โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลำปางจัดกิจกรรม STEM EDUCATION แก่นักเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยบูรณาการด้านการเรียนรู้ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ลำปางจัดกิจกรรม STEM EDUCATION แก่นักเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยบูรณาการด้านการเรียนรู้

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 7 สิงหาคม 2560 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 2833 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          5 สิงหาคม 2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปางจัดกิจกรรม STEM EDUCATION โมดูล Aquaponic 4.0 แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ห้องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ณ อาคารวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ เมฆอรุณกมล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง กล่าวต้อนรับคณะครูและนักเรียน
          ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ เมฆอรุณกมล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง เป็นมหาวิทยาลัยในจังหวัดลำปางที่มีการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ที่เน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากพันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอนแล้ว การวิจัยและบริการวิชาการก็เป็นอีกหนึ่งพันธกิจของมหาวิทยาลัย  ในการเข้ามาร่วมทำกิจกรรม STEM EDUCATION ในวันนี้ ขอให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ เก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์จากห้องเรียนห้องใหญ่นี้ไปปรับใช้ในการเรียนและชิวิตประจำวัน
          ดร.พวงทอง  วังราษฎร์ หัวหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอุดมศึกษาพี่เลี้ยง กล่าวว่า กิจกรรม STEM EDUCATION ที่มหาวิทยาลัยดำเนินการในปี 2560 มีการบูรณาการและพัฒนาสื่อการสอน STEM ร่วมกับครูสถานศึกษาเครือข่าย 6 โรงเรียน 2 วิทยาลัย ใน 9 โมดูล โดยโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยเป็นหนึ่งสถาบันการศึกษาเครือข่ายที่เลือกโมดูล Aquaponic 4.0 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบูรณาการเข้ากับทักษะวิชาชีพได้
          สำหรับโมดูล Aquaponic 4.0 เป็นโมดูลที่รับผิดชอบโดย อาจารย์สมเกียรติ ตันตา อาจารย์กุลวิชญ์  พาณิชย์กุล อาจารย์ณัชธาร  สิงโตทอง และอาจารย์นครินทร์  เจริญสุข ซึ่ง Aquaponic  เป็นการปลูกพืชควบคู่กับการเลี้ยงปลา โดยการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชกับตัวปลา พืชจะใช้น้ำเสียจากปลามาเป็นสารอาหาร น้ำเสียจะถูกดูดวนผ่านหินกรองลงมาที่รากของพืช และน้ำก็จะกลับมาสะอาดเหมือนเป็นการถ่ายน้ำใหม่ ปลาก็ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำที่สะอาด นับเป็นอีกหนึ่งเทรนด์การเกษตรของไทย ที่ปลูกพืชได้กินปลาหรือเลี้ยงปลาได้กินพืช
          ข่าว/ภาพ : จารุวรรณ  สุยะ