โลโก้เว็บไซต์ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ 2560 กรณีหมู่บ้านแม่กาษา หมู่ 2 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ 2560 กรณีหมู่บ้านแม่กาษา หมู่ 2 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 4 กรกฎาคม 2560 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 4110 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 3 - 4 กรกฏาคม 2560 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ 2560 กรณีหมู่บ้านแม่กาษา หมู่ 2 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และพิธีเปิดโรงสีข้าวชุมชนแม่กาษา ดำเนินโครงการโดย กองกลาง  สำนักงานอธิการบดี นำเสนอผลการดำเนินงานโดยพันจ่าเอกอำนาจ  ใจคำฟู (หัวหน้าโครงการ)  และคณะทำงานได้รับเกียรติจาก รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกวัล และนายอุดม มณีขัตย์ (กรรมการมหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ) และนายภฤศพงษ์ เพชรบุล ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นคณะกรรมการประเมินโครงการ  โครงการนี้มีแนวคิดในการดำเนินงานคือ "ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน "  ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินโครงการมาแล้ว 2 ปี  มีผลการดำเนินงานที่เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้แก่ โครงการน้ำดื่มปลอดภัย ได้ผลิตเครื่องกรองน้ำแบบครัวเรือนได้จำนวน  60  ครัวเรือน และจัดตั้งโรงน้ำดื่มชุมชนได้ 1 โรง  โครงการพัฒนากลุ่มอาชีพถักสาน ได้พัฒนารูปแบบตะกร้า ผลิตโครงตะกร้าได้เอง สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 50  และได้ดำเนินการจดทะเบียนรัฐวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว และได้นำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร (เปลือกข้าวโพด) มาพัฒนาเป็นชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า  โครงการผลิตข้าวปลอดภัยได้จัดจำหน่วยข้าวได้มากกว่า 2,500 กิโลกรัม  โครงการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ประโยชน์  สามารถจัดตั้งและจดทะเบียนกลุ่มทำถ่านอัดแท่งได้ 1 กลุ่ม   โครงการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้มีการออกแบบโมเดลแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนพร้อมได้ทำประชาคม และประสานภาคีที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว  โดยมีเป้าหมายในการดำเนินโครงการหลัก 3 ปี คือ จัดตั้งกลุ่มผลิตเครื่องกรองน้ำครัวเรือนและผลิตดื่มชุมชนเพื่อจำหน่าย  พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ถักสานของชุมชนให้มีความเป็นเอกลักษณ์ และผลิตข้าวปลอดภัยเชิงพาณิชย์ เป้าหมายการดำเนินงานปีงบประมาณ 2560 คือเพิ่มรายได้ของสมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องถักสานไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ลดรายจ่ายของสมาชิกกลุ่มถ่านอัดแท่ง (ลดการซื้อแก๊สหุงต้ม) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 เพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวให้ได้รับการรับรองมาตรฐานข้าวปลอดภัย และนำร่องปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน

ภาพ : นาย วรรธนพงศ์  เทียนนิมิตร

ข่าว : นางสาวหนึ่งฤทัย  แสงใส