เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 10 พฤษภาคม 2568 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 31 คน
วันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ผศ.ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา ร่วมให้การต้อนรับ ชุดประสานงานและบริหารจัดการแผนงานวิจัยจัดกิจกรรมประเมินและติดตามตรวจเยี่ยมพื้นที่วิจัย (พื้นที่ภาคเหนือ) ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ภายใต้แผนงานวิจัย ”การขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและแก้หนี้ครัวเรือน ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลโดย ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รศ.พีรเดช ทองอำไพ ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาประเมิน และติดตาม แผนงานวิจัย ศาสตราจารย์นภัทร วัจนเทพินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการงานวิจัยเชิงพื้น รศ.ดร.บัณฑิต กฤตาคม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี นายบรรจง นฤพรเมธี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และทีมบริหารจัดการกลางแผนงานวิจัย ได้แก่ ดร.อนิวรรต หาสุข ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.อีสาน นายอุกฤษฎ์ ชำมริ คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย
ซึ่งโอกาสนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 4 โครงการ ร่วมนำเสนอการดำเนินงาน “การขยายผลเทคโนโลยีพร้อมใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตโกโก้ให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการโกโก้ในภาคเหนือของประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินานาฏ วิทยาประภากร หัวหน้าโครงการวิจัย ณ โกโก้ดอย ศูนย์เรียนรู้แปรรูปโกโก้ ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนวัตกร แกนนำเกษตร จากกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนประกอบด้วย
1. วิสาหกิจชุมชนโกโก้อีซังวาฮัง ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
2. โกโก้ตำบลสันปูเลย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
3. วิสาหกิจโกโก้บ้านสวนสันกำแพง ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
4. วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้แปรรูปโกโก้ดอย ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
5.เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้บ้านช้าง ตำบลบ้านช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แสดงความชื่นชมที่ชุมชนสามารถพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการโกโก้ ซึ่งไม่เพียงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แต่ยังรวมกลุ่มเพื่อแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ และร่วมกันสร้างนวัตกรรมในท้องถิ่น โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของนวัตกรในชุมชนที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนของการแปรรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้แสดงถึงศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้แปรรูปโกโก้ดอย ได้เปิดโอกาสให้เห็นภาพรวมของการดำเนินงานที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานของโกโก้ ตั้งแต่การหมัก ตาก โม่ จนถึงการแปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งสะท้อนให้เห็นการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ในท้องถิ่นที่ได้รับการต่อยอดอย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงและการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มแข็งอีกทั้งชุมชนได้สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่จับต้องได้จากความร่วมมือกับภาควิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดมากขึ้น ไปจนถึงการสร้างรายได้และอาชีพใหม่ภายในพื้นที่ โดยหลายเสียงจากชุมชนต่างแสดงความเชื่อมั่นว่าความรู้ที่ได้รับไม่ได้หยุดอยู่เพียงในรุ่นของตน แต่สามารถส่งต่อไปยังเยาวชนและผู้ที่สนใจในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
ในโอกาสนี้ผู้ทรงคุณวุฒิยังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ในหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนนา อีกด้วย
คลังรูปภาพ : บพท 9 05 68