โลโก้เว็บไซต์ ศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านพลังงาน  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านพลังงาน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 ธันวาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 7927 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 1 ธันวาคม 2559 กลุ่มงานบริการวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้นำผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 9” (The 9th Thailand Renewable Energy Community Conference : TREC - 9) ศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านพลังงาน ณ บ้านสันฮกฟ้า ตำบลสันทราย  อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่วิทยาเขตแม่ริม

บ้านสันฮกฟ้า ตำบลสันทราย  อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จด้านระบบผลิตและส่งจ่ายก๊าซชีวภาพระดับชุมชน เกิดจากความต้องการแก้ปัญหาฟาร์มสุกรส่งกลิ่นรบกวนในชุมชน เป็นความร่วมมือจาก 4 ส่วน ได้แก่เจ้าของฟาร์มสุกร ซึ่งเป็นฟาร์มขนาดกลาง มีสุกรประมาณ 350 -700 ตัว สร้างถังเก็บก๊าซแบบ Fixed- Dome ขนาด 100 ลบ.ม. องค์กรบริหารส่วนตำบลสันทรายสนับสนุนท่อส่งจ่ายก๊าซชีวภาพ HDPE ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว PN 8 ระยะทาง 888 เมตร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนับสนุนบุคลากรให้ความรู้เรื่องระบบก๊าซชีวภาพ การบริหารจัดการ การดูแลรักษาระบบก๊าซชีวภาพ และงบประมาณในการก่อสร้างระบบเก็บก๊าซชีวภาพสถานีส่งจ่ายก๊าซชีวภาพและระบบท่อเพื่อส่งจ่ายก๊าซชีวภาพเข้าสู่ครัวเรือน (ท่อรองประธานและท่อแขนง) และกลุ่มผู้ใช้ก๊าซชีวภาพ จำนวน 35 ครัวเรือน + 1 วัด (ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน) จ่ายค่าเตาอั้งโล่ หัวเตาก๊าซ (เตาแบบประหยัดพลังงาน ที่ได้ต้นแบบจากการศึกษาดูงานที่ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี) และท่อส่งเข้าครัวเรือน ๆ ละ 750 บาท /1 หัวเตา และค่าใช้จ่ายรายเดือน ๆ ละ 100 บาท รวมถึงตั้งกฎระเบียบการใช้งาน การบำรุงรักษา ทำให้ชุมชนในหมู่บ้านได้ใช้ก๊าซชีวภาพในการหุงต้มประกอบอาหาร ทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้มเดิม ทั้งนี้สถิติการใช้ก๊าซชีวภาพบ้านสันฮกฟ้า ตั้งแต่ 28 ธันวาคม 2559 ถึงปัจจุบัน ทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม  4,320 กก. ลดค่าใช้จ่ายก๊าซหุงต้ม 120,960 บาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 1,782 ตันคาร์บอนไดออกไซร์/ปี

วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย (adiCET) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดตั้งเวิลด์กรีนซิตี้ในการพัฒนาชุมชนสีเขียวซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการวิทยาลัยพลังงานทดแทนศูนย์การวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสำนักงานป้องกันการเปลี่ยนแปลงและศูนย์ธุรกิจ Eco-product จังหวัดเมืองเชียงใหม่โลกสีเขียวยังเป็นชุมชนรูปแบบครั้งแรกในโลกที่ถูกนำมารวมกับธรรมชาติใช้พลังงานทดแทนเทคโนโลยีสีเขียวและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเต็มที่ CMWC ตั้งอยู่ในพื้นที่ 500ไร่ของ วิทยาเขตแม่ริม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย เน้นการเรียนการสอนและการทำวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการสร้างชุมชนต้นแบบที่ Chiang Mai World Green City วิทยาเขตแม่ริม อ.แม่ริม. จ.เชียงใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เสมือนจริง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนสีเขียวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่ง Chiang Mai World Green City แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1) ชุมชนฉลาด (Smart Community ) ถือเป็นชุมชนต้นแบบของการดำรงชีวิตแบบครบวงจร ประกอบด้วยบ้านพักประหยัดพลังงาน การทำกสิกรมฟาร์มอินทรีย์ ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ ระบบ AC-DC Power Grid ระบบเชื้อเพลิง Gasifier ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และพื้นที่สีเขียวเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2) วิทยาลัยสีเขียว (Green Institute) เน้นกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัย และการฝึกอบรมในอาคารประหยัดพลังงาน

3)นิทรรศการเขียว (Green Exhibition) รวบรวมองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าและยกระดับการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข่าว : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายวรรธนพงศ์ เทียนนิมิตร