โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ตาก ต้อนรับคณะทำงานโครงการสำรวจและให้คำปรึกษาการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ตาก ต้อนรับคณะทำงานโครงการสำรวจและให้คำปรึกษาการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 5 กันยายน 2566 โดย ชลาลัย กมลคุณาชัย จำนวนผู้เข้าชม 511 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันนี้ (5 ก.ย. 66) เวลา 15.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ ยาทะเล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ พร้อมคณะทำงานโครงการสำรวจและให้คำปรึกษาการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค มทร.ล้านนา และนายกิตติ ศรีพรหมมุนี ผู้อำนวยการกองบริหารธุรกิจเสริมระบบประปา การประปานครหลวง ในการลงพื้นสำรวจและให้คำปรึกษาการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ภายใต้กรอบการลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับการประปานครหลวง ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานบริหารฯ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและการใช้น้ำ รวมถึงมาตรการและแผนนโยบายการประหยัดน้ำของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก แก่คณะ จากนั้นได้นำคณะลงพื้นที่สถานที่ผลิตน้ำของมหาวิทยาลัยและเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อเป็นข้อมูลในการสำรวจและหารือแนวทางการพัฒนาร่วมกันต่อไป

โครงการสำรวจและให้คำปรึกษาการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือการวางแผนการปรับปรุงและพัฒนาระบบประปากับการประปานครหลวง ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางด้านการปรับปรุง พัฒนาระบบประปา และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและการประปานครหลวงได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านระบบประปาเพื่อให้รองรับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรและบริหารจัดการองค์ความรู้ของหน่วยงานให้มีความก้าวหน้า สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน สามารถนำความรู้ไปพัฒนาประยุกต์ต่อหน่วยงานและกิจการประปา ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยให้ดีขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กับมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการพัฒนาการให้บริหารสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ดีขึ้น และสามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปสู่สังคม ชุมชนในอนาคต