โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านท่าดีหมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านท่าดีหมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 28 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 2128 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

       วันที่ 28 กรกกฏาคม 2559  รองศาสตราจารย์ ดร.สิริโฉม พิเชษฐบุญเกียรติ ผู้อำนวยการกองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย  นายภีราวิชญ์ ชัยมาลา ผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงคณะกรรมการในการดำเนินโครงการ 4 กิจกรรมย่อย เข้าร่วมโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิจากท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ ซึ่งได้ดำเนินงานปีที่ 1 ในงบประมาณ พ.ศ. 2559

        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงรายกำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วมหมู่บ้านท่าดีหมี หมู่ที่ 18 ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,120 ไร่ ประกอบด้วย 65 ครัวเรือน ประชากร 163 คน ประชากรส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26 – 49 ปี ร้อยละ 50 รองลงมามีอายุ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 41 และที่สำคัญร้อยละ 34.56 ไม่ได้รับการศึกษา และประกอบอาชีพทำสวนชะอม ร้อยละ 46.03 ประชากรโดยส่นใหญ่มีมีรายได้ครัวเรือน/ปี โดยเฉลี่ย 149,224.53 บาท รายจ่ายโดยเฉลี่ย/ครัวเรือน 93,062.65 บาท และหนี้สินโดยเฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี 63,748.57 บาท (โครงการการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากร มทร.ล้านนา กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าดีหมี)หมู่บ้านท่าดีหมีเป็นหมู่บ้านที่ถือได้ว่าเป็นต้นน้ำสายสำคัญในการล่อเลี้ยงชีวิตและทำการเกษตรกรรมของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นั่นคืออ่างเก็บน้ำพระราชดำริห้วยป่าสิก และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวและเรียนรู้ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นที่รู้จัก และได้มาตรฐานเช่น ลานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กู่เก่า วัดท่าโพธิ์ทอง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 

      จากโครงการการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากร มทร.ล้านนา กรณีหมู่บ้านท่าดีหมี  ในปีงบประมาณ 2557 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คณาจารย์ลงพื้นที่ เรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนในหมู่บ้าน ชุมชน  ให้เข้าใจถึงบริบทชาวบ้าน ชุมชน อย่างแท้จริง และเกิดการมีส่วนร่วมระหว่างคณาจารย์กับภาคประชาชน โดยการเข้าไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ชุมชน พร้อมจัดทำฐานข้อมูล Village Profileเชิงลึกของชุมชน และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพบุคลากรของ มหาวิทยาลัยฯ  ในด้านกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมกับ หมู่บ้าน ชุมชน ท้องถิ่นรวมถึงเป็นเป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่าง หมู่บ้าน  ชุมชน กับ  มหาวิทยาลัยฯ ที่จะนำความรู้เชิงวิชาการสมัยใหม่จากองค์ความรู้ต่างๆของมหาวิทยาลัยไปสานต่อกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่จะเป็นการการยกระดับด้านงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของ หมู่บ้าน ชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน แล้วสามารถนำไปต่อยอดในการดำเนินงานโครงการยกระดับหมู่บ้านและการดำเนินงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

ดังนั้นในปีงบประมาณ  2559 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต แบบมีส่วนร่วม จึงได้จัดให้มีโครงการย่อยดังนี้ 

1. โครงการย่อยที่ 1 โครงการอบรมและส่งเสริมกลุ่มอาชีพในชุมชน เป็นโครงการที่เน้นให้เกิดกลุ่มอาชีพภายในชุมชนบ้านท่าดีหมี หมู่ที่ 18 ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยเริ่มจากการให้ชุมชนค้นหาความเชี่ยวชาญ ความถนัดเฉพาะตัวของคนในชุมชน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ จากนั้นเมื่อทำการเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะทำการผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเน้นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่จะต้องแตกต่าง และสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ และหาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ของชุมควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดรายได้ที่ชัดเจน เพื่อให้ชุมชนเห็นคุณค่า และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาชีพภายในชุมชน เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ ตลอดจนขึ้นทะเบียนรับรองผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชน และขึ้นทะเบียน OTOP รวมถึงการขยายสายผลิตภัณฑ์ (Product Line) ต่อไป เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านท่าดีหมี

2. โครงการย่อยที่ 2โครงการการบริหารจัดการขยะในครัวเรือนและบริหารจัดการน้ำภายในชุมชน เพื่อกำจัดขยะที่เกิดขึ้นในครอบครัว ลดการเผาขยะ การบริหารจัดการขยะ รวมไปถึงการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพน้ำที่ดี สะอาด ให้เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคสำหรับประชาชนในชุมชน

3. โครงการย่อยที่ 3 โครงการการแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างยั่งยืน ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ผักชะอม ชาวบ้านมีประสบการณ์และสั่งสมความรู้เชิงปฏิบัติจริง หากได้รับการยกระดับทักษะปฏิบัติและความรู้บางประการที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตของตนเองที่เป็นอยู่ ซึ่งจะเกิดการเพิ่มผลผลิตและสามารถลดต้นทุนลงได้อีก เพื่อให้คนในชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข ประหยัด ปลอดภัย พอเพียง ในวิถีของเกษตรกรแบบยั่งยืน

4. โครงการย่อยที่ 4โครงการการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับที่พักอาศัยในรูปแบบ    โฮมสเตย์เรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณีวัฒนธรรม ของชาวบ้านในท้องถิ่น และด้วยศักยภาพของชุมชนบ้านท่าดีหมี ซึ่งมีทั้งวิถีชีวิตชาวบ้านที่ดั้งเดิม ความเป็นอยู่โดยใช้หลักแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีประเพณีวัฒนธรรม มีศูนย์การเรียนรู้หลายแห่ง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งชุมชนยังมีความต้องการและมีแผนทิศทางการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อสามารถช่วยให้ชุมชนปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของชุมชนได้ สามารถเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่ได้รับตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย

ดังนั้นทั้ง 4 โครงการย่อย จะทำให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง อีกทั้งเพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการพัฒนาให้แก่ชุมชนอื่นให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป

กิจกรรมที่ดำเนินงานแล้ว ประกอบด้วย

1. การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาชีพ และพัฒนาก่อตั้งกลุ่มอาชีพ

2. สร้างความเข้าใจให้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์

3. ถ่ายทอดองค์ความรู้มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย 10 ด้าน 31 ตัวชี้วัด

4. ศึกษาดูงานหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่ได้รับมาตราฐานโฮมสเตย์ไทย

5. ฝึกปฏิบัติและดำเนินการจัดการบ้านพักที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นที่พักอาศัยในรูปแบบโฮมสเตย์

6. การวิเคราะห์คุณภาพเบื้องต้นของดินและน้ำ

7. การใช้สารสกัดจากชีวภาพเพื่อลดการใช้สารเคมี

8. การจัดทำเว็บไซต์หมู่บ้าน

9. ปฏิบัติการวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะในครัวเรือนและการจัดกิจกรรม3Rs

10. การวางแผนระบบการจัดการขยะ

11. ปฏิบัติการศึกษาความต้องการใช้น้ำของครัวเรือนแต่ละช่วงเวลา

12. การตรวจสอบแรงดันของแรงภายในท่อของประปาหมู่บ้าน และประปาภูเขาแต่ละช่วงเวลาและช่วงฤดูกาลปริมาณน้ำต้นทุนของแหล่งน้ำในแต่ละช่วงเวลา

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน : เนื่องจากผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านเสียชีวิต ทำให้ชุมชนแบ่งเป็น  3 ฝ่าย ขาดความสามัคคีในชุมชนทำให้ยากต่อการดำเนินงานตามแผนการต่อไป

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ